
🌷 ผู้ที่อบรมจิตจนสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว จึงจักพ้นจากทุกข์ได้
จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง
จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน ฯ
(พระพุทธพจน์)
^
^
พระพุทธพจน์ชัดเจนว่า
จิตผู้รู้ที่ได้รับการอบรมดีแล้วด้วยสติปัฏฐาน ๔ ย่อมไม่กำหนัด ในอารมณ์ที่ควรกำหนัด จิตผู้รู้ที่ได้อบรมดีแล้ว ย่อมไม่โกรธเคือง ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง การเริ่มต้นด้วยการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เท่ากับได้เริ่มต้นปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ (พระพุทธพจน์)
ชัดเจนมากเลยว่า จิตสามารถฝึกฝนอบรมได้ด้วยการเพียรเพ่งฌาน ให้จิตมีสติสงบตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ดังภูเขาหิน เมื่อจิตของตนสงบตั้งมั่น ไม่วุ่นวายซัดส่าย จิตย่อมรู้จักปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ได้ จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน เพราะอริยมรรค ๘ เป็นเครื่องมือในการปล่อยวางอารมณ์นั่นเอง
ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องความทุกข์ยาก ลำบากกาย ลำบากใจกันจำนวนมาก เพราะขาดการฝึกฝนอบรมกาย อบรมจิตของตน จิตของตนจะมีคุณภาพได้นั้น จิตต้องได้รับการอบรมให้เข้าถึงความสงบตั้งมั่น ถ้าทำจิตเพียงแค่ให้สงบตัวลงได้เป็นครั้ง เป็นคราว แต่ไม่ตั้งมั่น ก็อย่าได้พยายามคาดหวังไปเองว่า “จิตของตนจะมีคุณภาพ” ได้เลย
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
พระภัทรสิทธิ์ อภินันโท
https://www.facebook.com/DhammaBhut