
จิตกับใจตัวเดียวกันไหม
หลวงพ่อภัทรสิทธิ์ ตอบปัญหาธรรม
🌻 จิตกับใจตัวเดียวกันไหม
🌷 คำตอบ : จิตกับใจเป็นไวพจน์กัน คือ ใช้แทนกันได้ ในต่างกรรมต่างวาระ
จิตเมื่อเข้ามาถือครองรูปร่างกายนี้ เกิดรูป – นาม (ขันธ์ ๕) มีอายตนะพร้อม ถูกเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ตามแต่บริบทที่กล่าวถึงในขณะนั้นๆ
ใจ เป็นช่องทางของจิต ในการรับธรรมารมณ์ทั้งหลาย เป็น ๑ ในอายตนะภายใน ๖ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)
🌻 แต่บอกว่าคนประกอบด้วยขันธ์ 5 เลยไม่รู้ไม่เห็นมีบอกประกอบด้วยจิต แล้วใจทำหน้าที่อะไร ที่เราคิดเราทำสั่งการในชีวิตนี้ ทำทางกายวาจาใจ ที่พระพุทธเจ้าตรัส ใจเป็นใหญ่เป็นประธาน สำเร็จได้ด้วยใจ แล้วจิตล่ะ ใจกระทำสั่งการ จิตเป็นผู้รับกรรมใช่ไหม
🌷 คำตอบ : จิตกับใจมักถูกใช้ปนเปกันหรือรวมเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า “จิตใจ” เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นนั้น มักใช้คำว่า จิตบ้าง มโนบ้าง มนัสบ้าง ฯลฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น
ใจ เป็นช่องทางรับอารมณ์ของจิต จิตหรือใจสั่งการทำกิเลส กรรมอะไรไว้ ย่อมต้องรับผลของกิเลส กรรมนั้นๆ ที่ได้ทำลงไปเช่นกัน ในหลายพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความใดๆ เลยว่า จิตไม่ใช่ รูป – นาม (ขันธ์ ๕) และรูป – นาม (ขันธ์ ๕) ไม่ใช่จิต เช่น ในอนัตตลักขณสูตร และในอาทิตปริยายสูตร ทรงตรัสถึงเรื่องอายตนะภายใน ภายนอกว่าเป็นของร้อน ก็ทรงตรัสไว้ชัดเจนเช่นกันว่า อายตนะไม่ใช่จิต และจิตก็ไม่ใช่อายตนะเช่นกัน
🌻 แสดงว่าจิตใจเป็นอายตนะ คนตาย สัตว์ตาย ขันธ์ 5 ดับ
🌷 คำตอบ : จิตเป็นธาตุรู้ (อสังขตธรรม) ที่เข้ามาอาศัยถือครองรูปร่างกายนี้ชั่วคราว ซึ่งมีอายตนะพร้อม เมื่อรูปร่างกายนี้ (ขันธ์ ๕) ดับไป อายตนะดับ จิตไม่ได้ดับตายไปด้วย เพียงแต่เคลื่อนออกไป (จุติ) เพื่อหาภพภูมิใหม่
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
พระภัทรสิทธิ์ อภินันโท
https://www.facebook.com/DhammaBhut